Header Ads

Homepro Promotion
Homepro Promotion

เลือก “ปั๊มน้ำ” แบบไหนใช้งานเหมาะสมกับบ้านของเรา

ปั๊มน้ำ ตามท้องตลาดทั่วไป มีให้เลือกค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว โดยขนาดแรงดันของปั๊มน้ำ มีให้เลือกตั้งแต่ 100W ไปจนถึง 900W ซึ่งก่อนจะตัดสินใจเลือกปั๊มน้ำสักเครื่องมาใช้งานที่บ้าน เราจะต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานของบ้านเราก่อน เพื่อประกอบการพิจารณาในการเลือกปั๊มน้ำ ขนาดปั๊มน้ำ และประเภทของปั๊มน้ำได้อย่างเหมาะสม

ปั๊มน้ำ
ขอบคุณภาพจาก Hitachi

เก็บข้อมูลพื้นฐานของบ้านเรา

ข้อมูลพื้นฐานของบ้านเราก็เป็นข้อมูลง่ายๆ เราก็รู้กันอยู่แล้วล่ะ ไม่ใช้ข้อมูลเชิงลึกอะไรมากมาย อันดับแรกเราต้องดูก่อนว่า บ้านของเรามีกี่ชั้น จุดสูงสุดของการใช้น้ำภายในบ้านอยู่ที่ตรงไหน อย่างเช่น ฝักบัวที่ชั้นสอง หรือ ก๊อกน้ำบนชั้นดาดฟ้า

ถัดมาเป็นเรื่องของจำนวนของห้องน้ำและก๊อกน้ำ ว่าจุดสูงที่สุดของการจ่ายน้ำมีระยะเท่าใด ห้องน้ำมีทั้งหมดกี่ห้อง และมีก๊อกน้ำใช้งานทั้งหมดกี่จุด ซึ่งก๊อกน้ำรวมทุกจุดภายในบ้าน ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องซักล้าง โรงรถ และก๊อกในสวน

ทีนี้มาลองนึกันว่า ปกติแล้วการเปิดใช้งานน้ำแต่ละจุด บ่อยแค่ไหนที่เราจะใช้งานหลายจุดพร้อมๆกัน เพราะหากบ้านของเรามีการเปิดใช้น้ำหลายจุด แต่ดันเลือกปั๊มน้ำมีแรงดันไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อาจจะเกิดปัญหาน้ำไหลเบาหรือน้ำแรงไม่สม่ำเสมอได้

ปั๊มน้ำขนาดไหนดี ?

เมื่อเราทราบข้อมูลพื้นฐานของบ้านแล้ว ก็เก็บนำมาคำนวณเพื่อพิจารณาเรื่องของขนาดของปั๊มน้ำกันต่อ ว่าควรเลือกซื้อปั๊มน้ำขนาดเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมกับบ้านของเรา

โดยทั่วไปแล้ว บ้าน 1 ชั้น ควรเลือกใช้ปั๊มน้ำขนาดประมาณ 150W ส่วนบ้าน 2 ชั้นควรเลือกปั๊มน้ำขนาด 250W และบ้าน 3-4 ชั้นควรเลือกปั๊มข้ำขนาด 400W มาใช้งาน เป็นต้น แต่การคำนวณขนาดของปั๊มน้ำโดยนำข้อมูลพื้นฐานของบ้านอื่นๆมาประกอบด้วย จะยิ่งเพิ่มความแม่นยำให้กับการเลือกปั๊มน้ำมาใช้งานที่บ้านได้มากยิ่งขึ้น...

ปั๊มน้ำ
ขอบคุณภาพจาก Thanop.com

ยกตัวอย่างเช่น บ้านของเราเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น มีจุดสูงสุดที่ต้องจ่ายน้ำอยู่ที่ 7 เมตร มีจำนวนก๊อกน้ำภายในบ้านทั้งหมด 6 จุด และส่วนใหญ่เปิดใช้งานพร้อมกันอยู่ 3 จุด … ข้อมูลพื้นฐานจากที่กล่าวมา จะต้องเลือกปั๊มน้ำแบบไหน ?

ระยะส่งของปั๊มน้ำ : ในกรณีนี้ เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้นมีความสูงที่ต้องจ่ายน้ำอยู่ที่ 7 เมตร ควรเผื่อค่าแรงเสียดทานเพิ่มอีก 30% ดังนั้นควรเลือกปั๊มน้ำที่มีระยะส่งไม่น้อยกว่า 9 เมตร

ปริมาณน้ำ (ลิตร/นาที) : บ้านของเรามีโอกาศเปิดใช้งานน้ำพร้อมกันทั้งหมด 3 จุด โดยอัตราเฉลี่ยของการจ่ายน้ำของก๊อกน้ำจะอยู่ที่ 9 ลิตร/นาที รวม 3 จุดก็ 27 ลิตร/นาที (ตัวเลขนี้เป็นเพียงค่าประมาณเท่านั้น เพราะอุปกรณ์บางอย่างมีอัตราการจ่ายน้ำมากกว่า 9 ดังนั้นหากต้องการความแม่นยำมากขึ้น ควรพิจารณาแบบเฉพาะอุปกรณ์)

ซึ่งถ้าปั๊มน้ำมีตารางคู่มือที่ระบุจำนวนก๊อกน้ำมาให้ด้วย ยิ่งช่วยทำให้เลือกขนาดของปั๊มน้ำอย่างเหมาะสมกับการใช้งานที่บ้านได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ประเภทของปั๊มน้ำ

สิ่งที่เราจะต้องพิจารณากันต่อ คือเรื่องของประเภทของปั๊มน้ำ ซึ่งปั๊มน้ำแต่ละประเภท ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นเรามาดูกันว่า ปั๊มน้ำมีกี่ประเภท และแต่ละประเภท มีคุณสมบัติอะไรโดดเด่น และเหมาะกับการใช้งานกับบ้านแบบไหนบ้าง เริ่มจาก…

ปั๊มน้ำอัตโนมัติถังแรงดัน

(Automatic Water Pump with Pressure Tank)


ปั๊มน้ำอัตโนมัติแบบมีถังแรงดัน หรือ ปั๊มน้ำถังกลม เป็นปั๊มน้ำยุคแรกๆเลยที่นำมาใช้งานกัน โดยหลักการทำงานของปั๊มน้ำถังกลมคือ ปั๊มน้ำจะทำการดูดน้ำเข้าไปในถังแรงดัน เพื่อให้น้ำเข้าไปแทนที่อากาศ อัดแน่นอยู่ภายใน

ปั๊มน้ำ
ขอบคุณภาพจาก Knight Auto Sdn Bhd

เมื่อเราเปิดก๊อกน้ำใช้งาน น้ำที่เข้าไปอยู่ในถังความดัน จะถูกอากาศที่อยู่ด้านบนของถัง บีบอัดต่อลงมา และถูกสูบฉีดไปยังจุดที่เราเปิดใช้ การบีดอัดน้ำในถังแรงดันทำให้น้ำไหลออกแรงมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ปั๊มน้ำแรงดันจะเหมาะสำหรับบ้านหรืออาคารทั่วไป ราคาปั๊มน้ำแบบถังกลมถูกกว่าแบบปั๊มน้ำแรงดันคงที่ พวกค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม สามารถหาซื้อได้ง่ายและมีราคาที่ถูกกว่าเช่นกัน

ปัญหาที่พบบ่อยของปั๊มน้ำอัตโนมัติถังแรงดัน

ปัญหาที่มักพบบ่อยคือ น้ำไหลเบา เวลาเปิดใช้งานพร้อมกัน ซึ่งปัญหานี้ เป็นปัญหาหลักๆทั่วไปของปั๊มน้ำแบบถังกลมอยู่แล้ว จะมีช่วงเวลาทีน้ำไหลแรงและเบาสลับกัน

ตัวถังความดันส่วนใหญ่จะทำจากสแตนเลส และแน่นอนว่าถังความดัน ย่อมมีความดันอยู่ภายใน หากใช้งานไปนานเข้า ตรงส่วนรอยต่อของถังสแตนเลส อาจจะมีรอยรั่ว รอยซึม อาจจะเป็นรอยเล็กๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจจะกลายเป็นรอยรั่วใหญ่ที่สายเกินแก้

ปั๊มน้ำแรงดันคงที่

(Constant Pressure Water Pump)


ปั๊มน้ำแรงดันคงที่ หรือ ปั๊มถังเหลี่ยม เป็นปั๊มน้ำที่ให้แรงดันน้ำสม่ำเสมอ เหมาะกับการใช้น้ำหลายจุดพร้อมๆกัน มีการทำงานโดยใช้ ก๊าซไนโตรเจน เป็นตัวช่วยเพิ่มแรงดัน ทำให้รอบในการอัดอากาศคงที่ ทำให้สามารถจ่ายน้ำไปตามจุดได้เท่ากัน

ปั๊มน้ำ
ขอบคุณภาาพจาก NEWSTORE

แต่ปั๊มน้ำถังเหลี่ยม หากเกิดปัญหารั่วซึม จะไม่สามารถทำการแก้ไขหรือเติมก๊าซเองได้ ต้องมีช่างมาถอดเปลี่ยนเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนมาใช้อากาศเป็นตัวช่วยเพิ่มแรงดัน ทำให้เราเองก็สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง

ปั๊มน้ำแบบถังเปลี่ยม ชิ้นส่วนทำจากวัสดุพลาสติกแข็งเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องของสนิม แต่ไม่ควรตั้งปั๊มถังเหลี่ยมไว้กลางแจ้ง โดนแดด โดนฝน เพราะจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น

ไม่มีความคิดเห็น