“แอร์เคลื่อนที่” ผู้ช่วยปรับบ้านเย็นทันใจ
แอร์เคลื่อนที่ เป็นอีกตัวเลือกที่ช่วยบรรเทาความร้อนภายในบ้านได้ดีเลยทีเดียว ด้วยขนาดที่เล็กกะทัดรัด สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนภายในบ้านได้อย่างสะดวก เรียกได้ว่าเหมือนติดแอร์เย็นฉ่ำเอาไว้ภายในบ้านแทบทุกห้องเลยก็ว่าได้ค่ะ
แต่ก็มีข้อกังขาออกมาว่าแอร์เคลื่อนที่ จะดีกว่าแอร์บ้านแบบปกติทั่วไปหรือ จะกินไฟมากกว่ารึเปล่า จะมีความเย็นเหมือนกับแอร์บ้านรึเปล่า ทำไมไม่ติดแอร์บ้านไปเลยล่ะ มาใช้แอร์เคลื่อนที่ทำไม ? คำตอบทุกอย่างได้ถูกรวบรวมเอาไว้ในบทความนี้แล้วจ้า
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันเจ้า “แอร์เคลื่อนที่” กันก่อนเลยดีกว่าว่ามันคืออะไร แอร์เคลื่อนที่ก็เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ทำหน้าที่ปรับอุณภูมิบรรเทาความร้อนภายในบ้านเหมือนกับแอร์บ้านทั่วไป แต่ความแตกต่างมันอยู่ตรงที่ แอร์เคลื่อนที่ สามารถโยกย้ายไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือห้องครัว เอาเป็นว่าที่ไหนมีปลั๊กเสียบไฟได้ ก็สามารถใช้งานแอร์เคลื่อนที่ได้แล้วล่ะค่ะ
แอร์เคลื่อนที่มีจุดประสงค์การใช้งานเหมือนกับแอร์ทั่วไป คือการบรรเทาความร้อนภายในบ้าน แต่ว่าขนาด BTU ค่อนข้างต่ำมากกว่าแอร์บ้านประเภทอื่น เพราะไม่มีคอมเพลสเซอร์แยกออกมาด้านนอกเพื่อระบายความร้อน ดังนั้นตัวเครื่องของแอร์เคลื่อนที่จึงมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และทำความเย็นได้เฉพาะจุดไม่ทั่วถึง
แอร์เคลื่อนที่จะมีคอมเพลสเซอร์ ท่อลมร้อน และระบบกรองอากาศในตัว ดังนั้นแอร์เคลื่อนที่บางรุ่น จะต้องมีการต่อท่อเพื่อระบานน้ำทิ้งออกไปนอกบ้าน น้ำตรงส่วนนี้เป็นน้ำที่เกิดจากไอน้พเมื่อทำความเย็น
แอร์เคลื่อนที่สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทีมีปลั๊กไฟเสียบถึง (แต่อาจจะต้องหามุมที่สามารถต่อท่อเพื่อระบายความร้อนและไอน้ำที่เกิดจากการทำงานด้วยนะคะ)
แอร์เคลื่อนที่มีขนาดเล็กสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกและง่ายดาย เหมาะสำหรับเปิดแทนพัดลม ปรับเปลี่ยนมุมในการทำความเย็น อีกทั้งมีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน เฉลี่ย 3-5 ปี หากเปิดใช้งานตลอดเวลา ก็ไม่ทำให้ตัวเครื่องเสียหาย
แอร์เคลื่อนที่มี BTU ขนาดใหญ่เทียบเท่าแอร์บ้านด้วยนะ แต่ในประเทศไทยรู้สึกจะมีไม่เกิน 12,000 BTU ซึ่งจะเหมาะกับห้องที่ไม่กว้างขวางมากนัก
ความโดดเด่นของแอร์เคลื่อนที่ สิ่งแรกเลยคือความยืดหยุ่นในการเคลื่อนย้ายไปห้องนู้นห้องนี้ได้อย่างสะดวก ไม่ต้องทำการติดตั้งให้วุ่นวาย ดูแลรักษาง่าย ที่ไหนมีปลั๊กเสียบก็สามารถเปิดใช้งานได้เลย แต่ว่าต้องหาช่องสำหรับระบายความร้อนและไอน้ำออกนอกตัวบ้านด้วยนะคะ
ข้อจำกัดของแอร์เคลื่อนที่ คงเป็นเรื่องของประสิทธิภาพของการทำงาน ไม่เหมาะที่จะใช้งานในห้องกว้างๆ เพราะจะทำได้แค่เย็นเฉพาะที่ลมแอร์เป่าเท่านั้น และยิ่งทำให้แอร์เคลื่อนที่ทำงานหนักมากขึ้น ด้วยขนาด BTU ที่ต่ำกว่าแอร์บ้าน จึงทำความเย็นได้น้อยกว่าแอร์บ้าน อัตราการกินไฟเกือบเทียบเท่าแอร์บ้านในขนาด BTU เท่าๆ กัน จำเป็นต้องยื่นท่อลมร้อนเป่าออกนอกห้องเพื่อระบายความร้อน
โดยรวมแล้วแอร์เคลื่อนที่จะสามารถดูแลรักษาได้ง่ายมากกว่าแอร์ทั่วไป เพราะจะมีเพียงที่กรองอากาศ และช่องใส่น้ำทิ้งเท่านั้นที่ต้องนำออกมาทำความสะอาดอยู่บ่อยๆ เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อโรคสะสม และที่สำคัญคือห้ามต่อเติมท่อลมร้อนของแอร์เคลื่อนที่ให้ยาวมากขึ้นนะ เพราะว่าความยาวที่ไม่เหมาะสม จะทำให้พัดลมไม่มีแรงดันมากพอที่จะระบายความร้อนได้
ราคาแอร์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน ต้องบอกเลยว่าราคาไม่แพง และค่อนข้างมีคุณภาพน่าจับจอง โดยราคาจะสูงขึ้นตามขนาดของ BTU ที่ถูกพัฒนาให้สูงขึ้นตามอุณภูมิความร้อนในประเทศไทย ที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยราคาเฉลี่ยของแอร์เคลื่อนที่ตอนนี้อยู่ก็ที่
แอร์เคลื่อนที่ ระบบ Auto Swing สามารถปรับระดับทิศทางลม และการกระจายลมโดยอัตโนมัติ ระบบตั้งเวลา สามารถตั้งเวลาเปิด – ปิดเครื่องได้ตามต้องการ เทคโนโลยี Follow Me รีโมทคอนโทรลที่มีตัวดักจับอุณหภูมิ ( เซ็นเซอร์) ติดตั้งไว้ภายใน เมื่ออยู่ใกล้กับรีโมทคอนโทรลเครื่องปรับอากาศจะทำงานอัตโนมัติ เพื่ออุณหภูมิที่สบายและเหมาะสมยิ่งขึ้น เสมือนเครื่องปรับอากาศติดตามไปทุกที
รายละเอียดเพิ่มเติม > https://www.homepro.co.th/product/1036512
ภาพจาก Green and Growing
แอร์เคลื่อนที่คืออะไรนะ ?
ภาพจาก Compact Appliance
ลักษณะของแอร์เคลื่อนที่
แอร์เคลื่อนที่สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทีมีปลั๊กไฟเสียบถึง (แต่อาจจะต้องหามุมที่สามารถต่อท่อเพื่อระบายความร้อนและไอน้ำที่เกิดจากการทำงานด้วยนะคะ)
ภาพจาก learn.livingdirect.com
แอร์เคลื่อนที่มี BTU ขนาดใหญ่เทียบเท่าแอร์บ้านด้วยนะ แต่ในประเทศไทยรู้สึกจะมีไม่เกิน 12,000 BTU ซึ่งจะเหมาะกับห้องที่ไม่กว้างขวางมากนัก
ความโดดเด่นของแอร์เคลื่อนที่
ภาพจาก Home Air
ข้อจำกัดของแอร์เคลื่อนที่
การดูแลรักษาแอร์เคลื่อนที่
ภาพจาก Home Air
ราคาแอร์เคลื่อนที่
แอร์เคลื่อนที่ MIDEA MPN-12CR-T1 12000BTU
รายละเอียดเพิ่มเติม > https://www.homepro.co.th/product/1036512
Post a Comment