แช่อาหารในตู้เย็นอย่างถูกจุด อะไรควร ไม่ควร มาดูกัน !
คุณเคยสังเกตุไหมว่า เวลาเราเปิดตู้เย็นออกมาปุ๊ป จะเจอกับช่องแช่เย็นหลากหลายจุด มีให้วางหลายชั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เราก็เก็บอาหารแช่แบบไม่ได้คิดอะไร โยนๆเข้าตู้เย็นหมดไม่ว่าจะเป็นอาหารสด คาว หวาน อาจจะมีแยกประเภทบ้าง แช่เย็น หรือ แช่แข็ง ก็ตามแต่เราจะพิจารณา…
ซึ่งอันที่จริงแล้ว ตำแหน่งต่างๆในตู้เย็นแต่ละจุด จะเหมาะกับการแช่อาหารประเภทใดบ้าง เพื่อยืดอายุการเก็บอาหารให้มีความสดใหม่ได้นานๆ พร้อมนำออกมาปรุงแต่งเพื่อรับประทานอยู่ตลอด รวมไปถึงสร้างระเบียบในการจัดเก็บตู้เย็น ให้หยิบใช้งานได้สะดวกอีกด้วย
ดังนั้นเรามาดูไปพร้อมๆกันเลยดีกว่าว่า แต่ละจุดในตู้เย็น จะเหมาะกับการแช่อาหารแบบไหน และไม่เหมาะกับการเก็บอาหารประเภทใด จะได้รู้กันไปเลยว่าที่เราใช้งานตู้เย็นกันอยู่ที่บ้าน ถูกแล้วหรือยัง !?
อาหารที่เหมาะกับการแช่งในช่องฟรีส จะเป็นอาหารประเภทที่จำเป็นต้องแช่แข็ง อาทิ อาหารสด เนื้อสดต่างๆ หรือเป็นอาหารที่อยู่ในรูปแช่แข็งมาแต่เดิมอยู่แล้ว อย่างเช่น น้ำแข็ง น้ำซุป ผลไม้แช่แข็ง เป็นต้น
การจัดเก็บควรใส่บรรจุภัณฑ์ที่มีฝาปิดแน่นหนา อย่างพวกกล่องพลาสติก ซุปเปอร์แวร์ หรือแพคในถุงพลาสติกให้เรียบร้อยก่อนนำเก็บเข้าช่องฟรีส เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บ สร้างระเบียบให้กับตู้เย็นของเรา (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เนแก้วหรือของแตกง่ายเด็ดขาดค่ะ)
ประตูตู้เย็นทุกรุ่น คุณจะเห็นว่ามีชั้นวางติดตั้งอยู่ โดยส่วนนี้จะเป็นส่วนที่มีอุณภูมิค่อนข้างอุ่นมากที่สุด ดังนั้นอาหารที่เหมาะจะนำมาจัดวาง จะต้องเป็นอาหารที่ไม่เน่าบูดง่าย อย่างพวก เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ เป็นต้น
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเครื่องดื่มทุกประเภท จะเหมาะที่จะจัดเก็บเอาไว้ตรงส่วนนี้ อย่างเช่นพวกนมวัว ควรเลี่ยงที่จะนำมาวางเอาไว้ที่ชั้นวางหลังประตู เพราะว่านมวัวควรเก็บเอาไว้ในอุณภูมิที่คงที่ ถึงแม้ว่าจะมีการระบุวันหมดอายุเอาไว้ชัดเจน แต่การนำมาวางไว้ตรงส่วนที่อุณภูมิเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด อาจจะทำให้นมวัวหมดอายุและบูดเร็วมากกว่าปกติค่ะ
ชั้นวางของด้านบน เป็นบริเวณที่มีอุณภูมิปานกลาง ยังไม่ใช่จุดที่มีความเย็นมากที่สุดของตู้เย็น แต่ก็ไม่ได้ร้อนจนเกินไป เหมาะที่จะแช่อาหารประเภท อาหารสำเร็จรูป ไส้กรอก หรือผักผลไม้สด อาหารประเภทที่ไม่ต้องปรุงแต่งเพิ่มเติม แต่ควรนำเก็บเข้าบรรจุภัณฑ์ก่อนนำไปแช่นะ
ชั้นวางของด้านล่าง เป็นส่วนที่มีอุณภูมิเย็นที่สุดของตู้เย็น (รองจากช่องฟรีส) สามารถป้องกันการกระจายตัวของแบคทีเรียได้ดี เหมาะสำหรับแช่อาหารสด ที่เก็บเอาไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดฝามิดชิด แต่ก็ไม่ควรนำมาแช่เอาไว้ตรงส่วนนี้มากเกินไป เพราะจะต้องเว้นช่องว่างเพื่อไหลเวียนลมเย็นให้ทั่วถึง
บริเวณนี้เป็นส่วนที่ช่วยกักเก็บเรื่องของความชื้นของผักและผลไม้ได้อย่างดีเยี่ยม แต่ก็ไมได้เหมาะสมกับผักและผลไม้ทุกชนิดเสมอไป เพราะหากเป็นผลไม้ที่ผ่านกระบวนการบ่นมาแล้ว ก็ควรที่จะเก็บแยกเอาไว้ต่างหาก เพราะหากนำมาเก็บรวมเอาไว้กับผักผลไม้ชนิดอื่น อาจจะทำให้อาหารเหล่านี้มีใบเหลือง เหี่ยวเร็ว หรือแตกหน่อออกใบใหม่ขึ้นมาเลย
นอกจากนี้ควรนำไปล้างทำความสะอาดอีกครั้งก่อนรับประทาน แต่หากทานไม่หมดก็ควรทำให้สะเด็ดน้ำให้แห้งเสียก่อนนำหลับเข้าไปแช่ในตู้เย็นอีกครั้ง เพื่อป้องกันความชื้น หรือเก็บใส่กล่องพลาสติกแยกออกมาก็ได้ค่ะ
ทีนี้เราก็รู้กันแล้วว่า จะเก็บอาหารประเภทไหน เอาไว้ในตู้เย็นที่จุดใด ถึงจะช่วยรักษาความสดใหม่ คงคุณค่าทางสารอาหารให้กับวัตถุดิบของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เอาล่ะ ! รับกลับไปจัดระเบียบตู้เย็นที่บ้านกันดีกว่าเนอะ !
ภาพจาก oursouthbay.com
ดังนั้นเรามาดูไปพร้อมๆกันเลยดีกว่าว่า แต่ละจุดในตู้เย็น จะเหมาะกับการแช่อาหารแบบไหน และไม่เหมาะกับการเก็บอาหารประเภทใด จะได้รู้กันไปเลยว่าที่เราใช้งานตู้เย็นกันอยู่ที่บ้าน ถูกแล้วหรือยัง !?
ช่องฟรีส
ภาพจาก Real Simple
ชั้นวางหลังประตู
ภาพจาก businessinsider.com
ชั้นวางของด้านบน
ภาพจาก Good Housekeeping
ชั้นวางของด้านล่าง
ลิ้นชักแช่ผัก
ภาพจาก The Maids
ทีนี้เราก็รู้กันแล้วว่า จะเก็บอาหารประเภทไหน เอาไว้ในตู้เย็นที่จุดใด ถึงจะช่วยรักษาความสดใหม่ คงคุณค่าทางสารอาหารให้กับวัตถุดิบของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เอาล่ะ ! รับกลับไปจัดระเบียบตู้เย็นที่บ้านกันดีกว่าเนอะ !
Post a Comment