Header Ads

Homepro Promotion
Homepro Promotion

หากของในตู้เย็นเสียบ่อย แวะมาเช็คเรื่องอุณภูมิกันสักหน่อย เย็นพออะป่าว ?

ตู้เย็นออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับแช่เย็น คงความสดใหม่ของอาหารได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากของในตู้เย็นเก่าบูดหรือเน่าเสียเร็วมากกว่าปกติ หรือแช่อะไรในตู้เย็น ก็แข็งเป็นน้ำแข็งไปเสียทุกอย่าง เริ่มต้นอาจจะต้องตรวจเช็คในเรื่องของอุณภูมิของตู้เย็น เพราะคุณอาจจะเผลอไปหมุนปรับอุณภูมิภายในตู้เย็นแบบไม่ได้ตั้งใจก็เป็นได้ …

ภาพจาก Consumer Reports

อุณภูมิในตู้เย็นที่เหมาะสม


โดยปกติแล้วในช่องแช่เย็นของตู้เย็น ควรที่จะมีอุณภูมิอยู่ระหว่าง 35 – 38 ฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 1.6 – 3.3 องศาเซลเซียส ไม่ควรปล่อยให้อุณภูมิสูงมากกว่านี้ เพราะว่าจะส่งผลให้แบคทีเรียเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในอุณภูมิระดับ 40 ฟาเรนไฮต์ หรือ 4.5 องศาเซลเซียส นั้นเอง

วัตถุดิบส่วนใหญ่จะเริ่มแข็งตัวที่อุณภูมิประมาณ 32 ฟาเรนไฮต์ หรือ 0 องศาเซลเซียส เป็นอุณภูมิที่เหมาะสมสำหรับช่องแช่แข็ง (Freezer)

การจัดการอุณภูมิภายในตู้เย็น


ในเบื้องต้นจะต้องดูกันก่อนว่า ตู้เย็นที่บ้านของคุณ มีจอแสดงผลดิจิตอลหรือไม่ ? ถ้าหากมีก็จะสามารถตรวจเช็คอุณภูมิภายในตู้เย็นง่ายหน่อย และสามารถตั้งค่า เปลี่ยนแปลงอุณภูมิได้เลยทันที แต่ถ้าหากที่บ้านของคุณยังเป็นตู้เย็นรุ่นเก่า ไม่มีหน้าจอแสเงอุณภูมิล่ะ จะจัดการอย่างไร ?

ภาพจาก ajmadison.com

ในกรณีที่ตู้เย็นไม่มีหน้าจอดิจิตอลแสดงผล ให้เปิดตู้เย็นและมองเข้าไปที่ด้านในสุด จะมีเหมือนเป็นปุ่มหมุนที่เป็นตัวเลข ให้คุณหมุนไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม ในบางรุ่นอาจจะแยกส่วนเป็นช่องแช่เย็น และช่องแช่แข็ง เพียงแต่เป็นการกำหนดค่าที่ควรจะเป็น แต่ไม่ได้บอกอุณภูมิ แนะนำให้อ่านคู่มือที่มาพร้อมกับตอนเราซื้อมาก็ได้ค่ะ

หรือถ้าหากคู่มือหายไปแล้ว อาจจะเลือกวัดอุณภูมิที่มีจำหน่ายกันอยู่ทั่วไป มาวางไว้ในตู้เย็น เพื่อให้อ่านค่าอุณภูมิและเปรัยบเทียบการตั้งค่าในแต่ละครั้งด้วยตัวของคุณเอง เพราะว่าตู้เย็นแบบเก่า อาจจะมีแค่ปรับเลข 1 – 5 ซึ่งแต่ละตัวเลข อุณภูมิอยู่ที่เท่าไหร่ เราก็ไม่อาจทราบได้

ภาพจาก Argentina (Spanish) - Panasonic

นอกจากเรื่องของการตั้งค่าอุณภูมิภายในตู้เย็นแล้ว ลักษณะหรือพฤติกรรมการใช้งาน ก็เป็นอีกเหตุผลที่อาจจะส่งผลให้อุณภูมิภายในตู้เย็นแปรปรวนผิดปกติได้เช่นกัน


  • ใส่วัตถุหรือของร้อนเข้าตู้เย็น : หากคุณชอบนำวัตถุหรือของร้อนใส่เข้าตู้เย็นโดยตรงแบบไม่รอให้เย็นเสียก่อน จะทำให้ตู้เย็นใช้พลังงานมากขึ้น เพื่อทำอุณภูมิภายในตู้เย็นให้เท่ากับที่ตั้งค่าเอาไว้
  • ตู้เย็นหากใช้งานนานแล้ว อาจจะมีรอยหรือซีลตามขอบประตูเริ่มเสื่อม ก็อาจจะทำให้ความเย็นรั่วไหลได้เช่นกัน ส่งผลให้อุณภูมิความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายใน ตู้เย็นทำงานหนักมากขึ้น เปลืองค่าไฟไปอีก

ไม่มีความคิดเห็น