แนวทางการเลือกแอร์บ้านเย็นชื่นใจ ใส่ใจสุขภาพ :)
อากาศและอุณภูมิในประเทศไทยของเรา นับวันจะยิ่งสูงขึ้นๆ และไม่มีวี่แววว่าจะลดลงเลย เรียกได้ว่าอากาศร้อนจนร้องร้องขอชีวิตกันเลยทีเดียว สิ่งที่จะช่วยคลายความร้อนให้กับบ้านของเราได้นั้นก็คงไม่พ้นแอร์บ้านหรือเครื่องปรับอากาศ เปลี่ยนอุณภมิบ้านของเราให้เย็นชื่นใจ จนไม่อยากจะออกไปสู้แดดภายนอกกันเลยทีเดียว
image source : amsnews.tv
แน่นอนว่าในยุคปัจจุบัน มีแอร์บ้านมากมายให้เลือกใช้งาน มีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ แอร์ราคาถูก แอร์ราคาแพง ซึ่งสำหรับใครหลายๆคนแล้ว อาจจะแยกไม่ออกว่ามันมีข้อแตกต่างกันตรงไหน อย่างไร ทำไมราคาถึงต่าง แล้วต้องเลือกแอร์แบบไหนถึงจะเหมาะกับบ้านของเรา คำตอบทุกอย่างได้ถูกรวบรวมเอาไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ !
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าแอร์บ้านนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆด้วยกันค่ะ ได้แก่ แอร์บ้านแบบตั้งพื้น แอร์บ้านแบบติดผนัง และแอร์บ้านแบบเคลื่อนที่ ซึ่งแอร์ทั้ง 3 แบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร เรามาดูไปพร้อมๆกันเลย
แอร์บ้านแบบติดผนังเรียกได้ว่าเป็นแอร์บ้านยอดฮิตที่ แทบจะทุกบ้านทำการติดตั้งไว้ใช้งาน โดยความโดดเด่นของแอร์บ้านแบบติดผนังนั้น มีความโดดเด่นในเรื่องของความเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน พร้อมกับรูปทรงและดีไซน์ที่มีความสวยงาม เหมาะสำหรับใช้งานในทุกๆห้อง ในส่วนของการติดตั้งจะต้องติดบนผนังที่มีความสูง 40 เซนติเมตรขึ้นไปเท่านั้นค่ะ
image source : amsnews.tv
แน่นอนว่าในยุคปัจจุบัน มีแอร์บ้านมากมายให้เลือกใช้งาน มีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ แอร์ราคาถูก แอร์ราคาแพง ซึ่งสำหรับใครหลายๆคนแล้ว อาจจะแยกไม่ออกว่ามันมีข้อแตกต่างกันตรงไหน อย่างไร ทำไมราคาถึงต่าง แล้วต้องเลือกแอร์แบบไหนถึงจะเหมาะกับบ้านของเรา คำตอบทุกอย่างได้ถูกรวบรวมเอาไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ !
ประเภทของแอร์บ้าน
1. แอร์บ้านแบบเคลื่อนที่ (Portable Air)
ขนาด 9000 - 18000 BTU
แอร์บ้านแบบเคลื่อนที่ MIDEA MPPH-09CRN1 9000BTU
สำหรับแอร์บ้านแบบเคลื่อนที่นั้น เป็นแอร์ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถจัดและเคลื่อนย้ายไปในที่ที่ต้องการได้อย่างสะดวก การใช้งานก็ง่ายเพียงแค่เสียบสายไฟกดปุ่ม ก็สามารถปรับอากาศเย็นๆให้กับพื้นที่บ้านได้แล้ว โดยไม่ต้องทำการติดตั้งให้วุ่นวายแบบแอร์บ้านประเภทอื่นๆ
แต่แอร์บ้านแบบเคลื่อนที่นั้นจะต้องมีการต่อท่อระบายความร้อน และท่อน้ำทิ้งออกสู่ทางด้านนอกด้วยตัวเอง และระดับการให้ความเย็นก็อาจจะไม่ทั่วถึง เนื่องจากแอร์บ้านแบบเคลื่อนที่มีขนาดเล็ก ดังนั้นความเย็นก็จะเย็นเฉพาะจุด เรียกได้ว่า เปิดตรงไหนก็เย็นแค่ตรงนั้นค่ะ
2 แอร์บ้านแบบติดผนัง (Wall Type)
ขนาด 9000 - 36000 BTU
แอร์บ้านติดผนัง DAIKIN FTKJ12NV1SS 11900 BTU INV
3 แอร์บ้านแบบตั้งพื้นหรือแขวนเพดาน (Ceiling Type)
ขนาด 12000 - 60000 BTU
แอร์แขวนใต้ฝ้าเพดาน MITSUBISHI PC-5KAKLT 42000BTU
สำหรับแอร์บ้านแบบตั้งพื้นหรือติดเพดานนั้น มีขนาดและรูปทรงค่อนข้างใหญ่ การกระจายของแรงลมก็ค่อนข้างแรงมาก ทำให้ภายในห้องปรับอุณภูมิได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับสำนักงานออฟฟิศใหญ่ๆ ที่มีห้องกว้างขวางและมีคนอยู่รวมกันหลายคน สามารถเลือกได้ว่าจะติดแอร์ไว้ที่พื้นหรือบนเพดานได้ตามความต้องการค่ะ
คำว่า BTU นั้นย่อมาจาก British Thermal Unit หมายถึงความสามารถในการทำความเย็นของแอร์ ยิ่งมีค่า BTU มากก็แสดงว่าแอร์เครื่องนั้น สามารถทำความเย็นได้อย่างรวดเร็วนั้นเองค่ะ ซึ่งถ้าหากเราเลือกแอร์บ้านที่มีค่า BTU ไม่เหมาะสมกับห้อง ยกตัวอย่างเช่น
image source : heatshop.com
หากเลือกแอร์ที่มีค่า BTU สูงเกินขนาดของห้อง คอมเพรสเซอร์จะตัดบ่อย ความชื้นในห้องสูงทำให้ไม่สบายตัว ราคาแพงเกินความจำเป็นและสิ้นเปลืองพลังงานมากค่ะ
แต่ถ้าหากเลือกแอร์ที่มีค่า BTU ต่ำกว่าขนาดของห้อง คอมเพรสเซอร์แอร์ก็จะทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะปรับอุณภูมิให้เท่ากับที่เราตั้งเอาไว้ ทำให้เปลืองค่าไฟและแอร์ทำงานหนักเกินจำเป็น อายุการใช้งานก็จะลดลงตามๆกันไปค่ะ
ค่า BTU คืออะไร ?
image source : heatshop.com
แอร์ที่มีค่า BTU สูงเกินขนาดของห้อง
แอร์ที่มีค่า BTU ต่ำกว่าขนาดของห้อง
ดังนั้นการเลือกแอร์บ้านที่มีค่า BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของห้องจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โดยสามารถดูค่า BTU ของแอร์บ้านเปรียบเทียบกับขนาดของห้องได้ตามตารางด้านล่างนี้เลยค่ะ
ตารางเปรียบเทียบค่า BTU กับพื้นที่ของห้อง
บีทียู | ห้องปกติ (ตร.ม.) | ห้องที่โดนแดด (ตร.ม.) |
9000 | 12 - 14 | 11 - 13 |
12000 | 16 - 20 | 14 - 18 |
18000 | 20 - 28 | 21 - 27 |
21000 | 28 - 35 | 25 - 32 |
24000 | 32 - 40 | 28 - 35 |
26000 | 35 - 44 | 30 - 39 |
30000 | 40 - 50 | 35 - 45 |
36000 | 48 - 60 | 42 - 54 |
40000 | 56 - 65 | 52 - 60 |
48000 | 64 - 80 | 56 - 72 |
60000 | 80 - 100 | 70 - 90 |
การเปรียบเทียบโดยประมาณ ทั้งนี้ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นเพิ่มเติม
- จำนวนและขนาดของหน้าต่าง
- ทิศที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
- วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
- จำนวนคนทีใช้งานในห้อง
- จำนวน และประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้องที่ก่อให้เกิดความร้อน
Post a Comment